สืบสานตำนาน " เขาพระวิหาร "
เรื่องของปราสาทเขาพระวิหาร เป็นประวัติศาสตร์ เป็นตำนาน ซึ่งก็ ตำ กันมายาวนานมากเป็นร้อยๆปี ในที่สุดปีนี้ก็เกิดเป็นกรณีทางการเมืองขึ้นมาอีกจนได้ เพราะอะไร ? หลายฝ่ายมองเห็นว่ามันเป็นเพราะเพื่อผลประโยชน์ของคนไทยบางคน ที่ถูกประนามว่า เป็นคนขายชาติ...........
ต่อไปนี้เป็นข้อมูลเกี่ยว กับเรื่องเขาพระวิหารที่กำลังเป็นเรื่องที่ทำให้ฝ่ายค้านขอเปิดอภิปรายฝ่าย รัฐบาล และเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจกันเป็นอย่างมากก็ลองศึกษาดูทำให้เราได้ รู้อะไรอีกหลายอย่างที่เราไม่รู้หรือไม่เคยรู้มาก่อนส่วนเรื่องผลการลงมติ ไว้วางใจนั้นเราคงไม่ต้องไปนึกถึงเพราะอย่างไรเสียก็ต้องผ่านเพราะเสียงข้าง มากของรัฐบาลไทยมักจะเป็นเช่นนี้เสมอมา
ปราสาทเขาพระวิหาร เป็น สถาปัตยกรรมอันน่าทึ่ง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมบรรพชนของขะแมร์กัมพูชา (ขอม) แต่โบราณ ที่อาศัยอยู่ทั้งในกัมพูชาปัจจุบันและในภาคอีสานของไทย ปราสาทสร้างด้วยหินทรายและศิลาแลงความสามารถ และความยิ่งใหญ่ของขะแมร์กัมพูชา เทียบได้กับชมพูทวีป กรีก และอียิปต์ สุดยอดของขะแมร์กัมพูชาคือ Angkor หรือ ศรียโสธรปุระ-นครวัด-นครธม ขะแมร์กัมพูชา ก่อสร้างปราสาทบนเขาพระวิหารติดต่อกันมายาวหลายรัชสมัย กว่า 300 ปี ตั้งแต่กษัตริย์ ยโสวรมันที่ 1 จนกระทั่งท้ายสุด สุริยวรมันที่ 2 และชัยวรมันที่ 7 จากปลายคริสต์ศตวรรษ ที่ 9 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 (หรือก่อนสมัยสุโขทัย 300 ปีนั่นเอง) ปราสาทเขาพระวิหารตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรักสูงจากพื้นดินกว่า 500 เมตร และเหนือระดับน้ำทะเลกว่า 600 เมตรปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตจังหวัด เปรียะวิเฮียร (Preah Vihear) ของกัมพูชา
ปราสาท เขาพระวิหาร น่าจะถูกทิ้งปล่อยให้ร้างไปเมื่อหลังปี พ.ศ. 1974 คือภายหลังที่กรุงศรียโสธรปุระ (นครวัดนครธม) ของกัมพูชาเสียกรุง ให้แก่กองทัพของกรุงศรีอยุธยา ในสมัยของพระเจ้าสามพระยา กัมพูชาต้องหนีย้ายเมืองหลวงไปอยู่ละแวก อุดงมีชัย และพนมเปญ ตามลำดับ ทั้งกัมพูชาและไทยคงลืมและทิ้งร้าง ปราสาทเขาพระวิหาร ไปประมาณเกือบ 500 ปี จนกระทั่งฝรั่งเศสเข้ามาล่าเมืองขึ้นในอุษาคเนย์ ได้ทั้งเวียดนาม ทั้งลาว และกัมพูชาไปเป็นอาณานิคมของตน และก็พยามยามเขมือบดินแดนของ สยามสมัย ร.ศ. 112 ถึงขนาดใข้กำลังทหารเข้ายึดเมืองจันทบุรี เมืองตราด และเมืองด่านซ้าย (ในจังหวัดเลย) ไว้เป็นเครื่องต่อรองอยู่ 10 กว่าปีจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2450 ที่พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จยุโรปเป็นครั้งที่ 2 จึงได้ทรงลงนามสัตยาบันในสัญญากับประธานาธิบดีฝรั่งเศสแลกเปลี่ยนยกดินแดน เสียมเรียบ (อันเป็นที่ตั้งของนครวัดนครธมหรือกรุงศรียโสธรปุระ) กับพระตะบอง และศรีโสภณให้กับฝรั่งเศส ทั้งนี้โดยการแลกจันทบุรี ตราด และด่านซ้าย (เลย)กลับคืนมา เมื่อถึงตอนนี้นั่นแหละที่เส้นเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ทางด้านทิศตะวันออกของประเทศไทย มีพรมแดนและเส้นเขตแดนติดกัมพูชาและลาวและตัวปราสาทเขาพระวิหารก็ถูกขีดเส้น แดนให้ตกเป็นของฝรั่งเศส ดังนั้นเมื่อกัมพูชาได้รับเอกราช จึงอ้างสิทธิในการครอบครองปราสาทเขาพระวิหาร โดยในสมัยของรัชกาลที่ 5 ฝ่ายรัฐบาลราชาธิปไตยสยาม ได้ยอมรับเส้นเขตแดนที่ถือว่าปราสาทเขาพระวิหารขึ้นอยู่กับฝรั่งเศสไปเรียบ ร้อยแล้วทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อจะได้อยู่ร่วมกันโดยสันติ และที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อเป็นหลักประกันในการรักษา เอกราชและอธิปไตย ส่วนใหญ่ของสยามประเทศเอาไว้
สมัยรัฐบาลของรัชกาลที่ 7 เมื่อครั้งเสด็จไปทอดพระเนตรทั้งปราสาทเขาพนมรุ้ง และปราสาทเขาพระวิหาร จึงทรงขออนุญาตฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ที่จะขึ้นไปทอดพระเนตรปราสาทเขาพระวิหาร ที่อยู่ภายใต้ธงไตรรงค์ของฝรั่งเศส (และนี่ ก็คือหลักฐานอย่างดีที่ทำให้ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช และ ม.จ.วงษ์มหิปชยางกูร ทนายและผู้แทนของฝ่ายรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่อ่อนแอข้อมูลและหลักฐานจดหมายเหตุ ต้องแพ้คดีปราสาทเขาพระวิหารเมื่อ 15 มิถุนายน 2505)
กาลเวลาล่วงไปจนถึงสมัยสิ้นสุดระบอบราชาธิปไตย ภายหลังการปฏิวัติ2475 เรื่องของ ปราสาทเขาพระวิหาร ถูกขุดคุ้ยขึ้นมาเป็นประเด็นครุกรุ่นทางการเมืองมาแล้ว 2 ครั้ง คือครั้งแรก สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และครั้งที่สอง สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยุคสงครามเย็น (ต่อต้านคอมมิวนิสต์ และต่อต้านนโยบายเป็นกลางของกัมพูชาสมัยพระเจ้านโรดม สีหนุ)ในครั้งแรกสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามนั้น สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติประชาธิปไตย 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเมื่ อคณะราษฎร ยึดอำนาจได้แล้วแม้จะโดยปราศจากความรุนแรงและนองเลือดในปีแรกก็ตามแต่ก็ ประสบปัญหาในการบริหารปกครองประเทศอย่างมาก เพราะเพียง 1 ปีต่อมาก็เกิด กบฏบวรเดช พ.ศ. 2476 (ที่นำด้วยพระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกลาโหมของรัชกาลที่ 7 และพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ ผู้เป็นตาของพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์) เกิดการนองเลือดเป็น สงครามกลางเมือง และส่งผลให้รัชกาลที่ 7 ถึงกับสละราชสมบัติในปี พ.ศ. 2477 และประทับอยู่ที่อังกฤษจนสิ้นพระชนม์
ใน ท่ามกลางความปั่นป่วนวุ่นวายทางการเมืองนั้น รัฐบาลพิบูลสงคราม หันไปพึ่ง อำมาตยาเสนาชาตินิยม ปลุกระดมวาทกรรม การเสียดินแดน 13 ครั้ง ให้เกิดความ รักชาติ ด้วยมาตรการต่างๆ เช่น 24 มิถุนายน 2482 รัฐบาลเปลี่ยนนามประเทศจาก สยาม”เป็น ไทย รัฐบาลปลุกระดมเรียกร้องดินแดนจากฝรั่งเศส คือดินแดนที่ได้ตกลงแลกเปลี่ยนกันไปแล้วในสมัยรัชกาลที่ 5 ในเดือนตุลาคม 2483 ผลักดันให้นิสิต นักศึกษาทั้งจุฬาฯ และ มธก. เดินขบวนเรียกร้องดินแดน มณฑลบูรพา และ ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง จนในที่สุดก็เกิดสงครามชายแดน รัฐบาลส่งกองกำลังบูรพาไปรบกับฝรั่งเศสซึ่งก็เปิดโอกาสให้ญี่ปุ่น มหามิตรใหม่ เข้ามาไกล่เกลี่ยบีบให้ฝรั่งเศส ซึ่งตอนนั้นเมืองแม่หรือปารีสในยุโรปอ่อนเปลี้ยถูกเยอรมนียึดครองไปเรียบ ร้อยแล้ว จำต้องยอมยกดินแดนให้ไทยสมัยพิบูลสงคราม (ทำให้นายพลตรีหลวงพิบูลสงคราม กระโดดข้ามยศพลโท-พลเอก กลายเป็นจอมพลคนแรกในยุคหลัง 2475) และเป็นที่มาที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ดินแดนทั้งเสียมเรียบที่เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดพิบูลสงคราม พระตะบอง ศรีโสภณ จำปาศักดิ์ ซึ่งรวมทั้งที่อยู่ในลาว และอยู่ในบริเวณพนมดงรัก เช่น ปราสาทเขาพระวิหาร และเมืองจอมกระสาน ตลอดจนถึงไซยะบูลี (จังหวัดนี้อยู่ตรงข้ามหลวงพระบาง และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดลานช้าง ( คำว่า “ลาน” ในสมัยนั้นยังไม่มีไม้โท) และก็ในตอนนี้ที่ทั้งปราสาทและเขาพระวิหารกลับมาสู่ความสนใจและความรับรู้ ของคนไทย รัฐบาลพิบูลสงคราม ดำเนินการให้กรมศิลปากร ได้จัดการขึ้นทะเบียนให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นโบราณสถานของไทย โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2483 และชี้แจงต่อประชาชนว่าได้ปราสาทเขาพระวิหารมา ดังหลักฐานในหนังสือ ประเทศไทยเรื่องการได้ดินแดนคืน ของกองโฆษณาการงานฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2484 สมัยนั้น มีรูปปราสาทเขาพระวิหารพิมพ์อยู่ด้วย พร้อมด้วยคำอธิบายภาพว่า ปราสาทหินเขาพระวิหารซึ่งไทยได้คืนมาคราวปรับ ปรุงเส้นเขตแดนด้านอินโดจีนฝรั่งเศส และทางการกำลังจัดการบูรณะให้สง่างามสมกับที่เป็นโบราณสถานสำคัญ
สงคราม โลกครั้งที่ 2 จบลงด้วย มหามิตรญี่ปุ่น ปราชัยอย่างย่อยยับ รัฐบาลพิบูลสงครามก็ล้ม ซึ่งก็หมายถึงว่า ไทย จะต้องถูกปรับเป็นประเทศแพ้สงครามด้วย ทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษที่เสียทั้งดินแดนและผลประโยชน์ให้กับไทย ก็ต้องการปรับ และเอาคืน ที่มีทั้งมหาอำนาจใหม่ คือ สหรัฐฯ สนับสนุน และมีทั้ง ขบวนการเสรีไทย ภายใต้การนำของ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ที่กู้สถานการณ์เจรจาต่อรองกับฝ่ายสัมพันธมิตร ให้การประกาศสงครามของ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และการเข้าร่วมกับญี่ปุ่น กลายเป็นโมฆะไม่ต้องถูกปรับมากมายหรือถูกยึดเป็นเมืองขึ้นอย่างญี่ปุ่น หรือ เยอรมนี แต่รัฐบาลใหม่ของไทยที่เป็นฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ก็ต้องคืนดินแดนที่ไปยึดครองมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นดินแดนในอินโดจีนของฝรั่งเศส รวมถึงเมืองขึ้นของอังกฤษที่รัฐบาลพิบูลสงครามยึดครองและรับมอบมา เช่น เมืองเชียงตุง เมืองพานในพม่า หรือ 4 รัฐมลายู (ที่เคยถูกเปลี่ยนชื่อเป็น สัฐมาลัย คือ กลันตัน ตรังกานู ปะลิส และ เคดะห์) แต่ในตอนนี้อีกนั่นแหละที่ระเบิดเวลา ปราสาทเขาพระวิหาร ถูกวางไว้อย่างเงียบๆ กล่าวคือ ตัวปราสาทหาได้ถูกคืนไปไม่ และต่อมารัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (ซึ่งคืนชีพมาด้วยการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ภายใต้การนำของพลโทผิน ชุณหะวัณ ร่วมด้วยกับหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คือ นายควง อภัยวงศ์) ได้ส่งกองทหารไทยให้กลับขึ้นไปตั้งมั่นและชักธงไตรรงค์อยุ่บนนั้นอีกครั้งใน ปี พ.ศ. 2497
ความ ห่างไกลและความกันดารของทั้งตัวภูเขาและตัวปราสาทในสมัยนั้น และเพราะการที่เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ต้องพะวงกับสู้รบปราบปรามขบวนการกู้ชาติของเวียดนาม กัมพูชา และลาว ก็ไม่ทำให้เรื่องของปราสาทเขาพระวิหารเป็นข่าว หรืออยู่ในความรับรู้ของผู้คนโดยทั่วๆไประเบิดเวลาลูกนี้ระเบิดขึ้นเมื่อ กัมพูชาได้เอกราชในปี พ.ศ. 2496 อีก 6 ปีต่อมาพระเจ้านโรดมสีหนุของกัมพูชา ก็ยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลโลก (International Court of Justice) เมื่อ 6 ตุลาคม 2502 รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ที่ทำปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม) แต่งตั้ง ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นทนายสู้ความ รัฐบาลสฤษดิ์ ปลุกระดมให้ประชาชนรักชาติ บริจาคเงิน คนละ 1 บาทเพื่อสู้คดี ศาลโลกที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ใช้เวลา 3 ปี และลงมติเมื่อ 15 มิถุนายน 2505 ตัดสินด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 ให้ปราสาทเขาพระวิหาร ตกเป็นของกัมพูชา และให้รัฐบาลไทยถอนทหาร ตำรวจ ยามและเจ้าหน้าที่ออกนอกบริเวณ ศาลโลกครั้งนั้นประกอบด้วยผู้พิพากษาจาก 12 ประเทศ และประเทศที่ออกเสียงให้กัมพูชาชนะคดี มี 9 ประเทศคือ โปแลนด์ ปานามา ฝรั่งเศส สหสาธารณรัฐ อาหรับ อังกฤษ สหภาพโซเวียต ญี่ปุ่น เปรู และอิตาลี ส่วนอีก 3 ประเทศ ที่ออกเสียงให้ไทย คือ อาร์เจนตินา จีน ออสเตรเลีย ว่าไปแล้วรัฐบาลไทยแพ้คดีนี้อย่างค่อนข้างราบคาบ และคำพิพากษาของศาลก็ยึดจากสนธิสัญญาและแผนที่ที่ทำขึ้นหลายครั้งในสมัยปลาย รัชกาลที่ 5 นั่นเอง
แผนที่และสัญญาเหล่านั้นขีดเส้นให้ตัวปราสาท เขาพระวิหารอยู่ในอินโดจีนของฝรั่งเศส หาได้ใช้หลักทางภูมิศาสตร์หรือสันปันน้ำ หรือทางขึ้นไม่ การกำหนดพรมแดนดังกล่าวรัฐบาลสยามในสมัยของรัชกาลที่ 5 และสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ได้ยอมรับไปโดยปริยายโดยมิได้มีการท้วงติงแต่อย่างใด ดังนั้นผู้พิพากษาศาลโลกก็ถือว่าการนิ่งเฉยเท่ากับเป็นการยอมรับรือ กฎหมายปิดปาก ซึ่งไทยก็ต้องแพ้คดี นั่นเอง
ที่ ผ่านมาได้มีการหารือกันมาตลอดระหว่างคณะกรรมการมรดกโลก และกรมอนุสนธิสัญญากรมเอชีย ของกระทรวงต่างประเทศ กรณีที่ กัมพูชาจะขอเสนอ ปราสาทเขาพระวิหารเป็นพื้นที่มรดกโลก ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่ง คณะกรรมการมรดกโลกเสนอไปว่า ควรจะต้องเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกันระหว่าง ไทยและกัมพูชา เพราะไม่อย่างนั้นประเทศไทยจะเสียดินแดนและอธิปไตย และได้ยึดถือตามแนวทางข้อตกลงร่วมกันมาตลอดตั้งแต่ปี 2548 ไม่สามารถจะสนับสนุนให้ประเทศกัมพูชา เสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพียงประเทศเดียวเพราะการขึ้นทะเบียนตัวเขาพระวิหาร นั้นไม่ได้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท แต่จะต้องมีการประกาศเขตพื้นที่อนุรักษ์รอบตัวโบราณสถาน ซึ่งการออกประกาศก่อสร้าง ในเขตอนุรักษ์พื้นที่ทำในเขตไทยเพราะฉะนั้น ถือเป็นการรุกล้ำดินแดนไทย เนื่องจากคำตัดสินของศาลโลกที่ยึดถือกันมาตลอดคือ ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นของกัมพูชา แต่แผ่นดินเป็นของประเทศไทย ทำ ให้ที่ผ่านมาไม่เคยมีรัฐบาล ชุดไหนไปลงนามเซ็นสัญญาลักษณะนี้ โดยจะเจรจาตามแนวทางการเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกันเท่านั้นนอกจากนี้ การขึ้นทะเบียนปราทาทเขาพระวิหารไม่ได้ขึ้นทะเบียนเพียงตัวปราสาท หากรวมถึงโบราณสถานอื่นๆ ที่อยู่ในดินแดนไทย เพราะลักษณะโบราณสถานที่เรียกว่าปราสาทเมืองต่ำที่บูชาพระศิวะนั้นจะต้องมี บาลายที่เป็นทะเลสาป ก่อนที่จะเข้าสู่ตัวพระวิหาร เช่นเดียวกับปราสาทเขาพนมรุ้งที่จะมี แอ่งน้ำบารายสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อนที่จะเข้าสู่ตัวปราสาท และปราสาทเขาพระวิหารไม่มีตัวบารายจึงได้มีการสำรวจบริเวณรอบๆแล้วพบตัวบา รายฝั่งทิศเหนือจากบันไดปราสาทในเขตดินแดนของประเทศไทย แต่ถูกกิ่งไม้ทับถมจึงหาไม่พบซึ่งหลังจากค้นพบ ทำให้คณะกรรมการมรดกโลกยืนยันว่า การเสนอขึ้นทะเบียนเขามรดกโลกต้องเสนอร่วมกันเท่านั้น
เมื่อ ต้นปีที่ผ่านมา กระทรวงต่างประเทศ โดย นายวีระชัย พลาศรัยอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายคนเก่าและศาสตราจารย์ ดร.อดุลย์ วิเชียรเจริญได้ปรึกษากันในเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลกเขาพระวิหารและได้ ข้อสรุปร่วมกันว่า ยึดแนวทางตามข้อตกลงในปี 2548 โดย ให้เสนอร่วมกันระหว่างประเทศ เพราะหากเราไปสนับสนุนให้ กัมพูชาขึ้นทะเบียนเราจะเสียธิปไตยเพราะแผนการจัดการพื้นที่จะตกไปอยู่ที่ กัมพูชา ทันทีซึ่งผอ.กรมสนธิสัญญาคนเก่าก็ยึดถือตามนั้น หลังจากนั้นไม่ถึง สัปดาห์ ผู้อำนวยการคนนี้ได้ถูกสั่งย้ายซึ่งไม่ทราบว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด และต่อจากนั้น เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศ จาก กรมเอเซีย และกรมสนธิสัญญา ได้มาหารือกับ ดร.อดุลย์อีกครั้ง โดยนำเอาวีดีโอมาบันทึกซึ่ง ดร.อดุลย์ก็เสนอไปเช่นเดิมว่าไม่เห็นด้วยที่จะลงนาม สนับสนุนกัมพูชา และเห็นว่าควรจะต้องเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกันเท่านั้น หลังจากที่ เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศมาหารือและ ดร.อดุลย์ยืนยันไปตามมติตามแนวทางปี 2548
หลังจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยก็ไปตกลงลงนามเพื่อสนับสนุนให้
กัมพูชา ไปเสนอขึ้นทะเบียนมรกดโลกที่ยูเนสโกเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่ประเทศชาติเสียหายมากเพราะอำนาจการบริหาร จัดการทั้งหมดอยู่ที่กัมพูชา ดร.อดุลย์ กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้น การรีบร้อนในการลงนาม เพื่อสนับสนุนกัมพูชาของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ทั้งๆที่มีเวลาในการพิจารณา ถึง 2 ปี ทำให้มั่นใจว่าข่าวคราวที่ออกมาว่าการเสนอขึ้นทะเบียนเขาพระวิการกับการแลก เปลี่ยนผลประโยชน์บางอย่างน่าจะเป็นจริง อีกทั้ง การให้สัมภาษณ์ของ เตียบันที่ เกาะกง ก็ชัดเจนว่า น่าจะมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เกิดขึ้น
ดร. อดุลย์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่นายนพดล ดำเนินการจึงเป็นเรื่องที่ประเทศเสียประโยชน์อย่างมาก และการเนินการยังปกปิดข้อมูลการเซ็นต์สัญญาร่วมไม่ได้เปิดเผยให้กับสาธารณะ ชนรับรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถือว่ายอมรับกันได้ยากมากและน่าจะเป็นเรื่องผลประโยชน์ มากกว่า เพราะท่าทีรีบร้อนของ รัฐมนตรีต่างประเทศที่รีบเซ็นต์ลงนามโดยที่ไทยไม่ได้ประโยชน์เลย แล้วอย่างนี้ไทยสามารถคัดค้านได้หรือไม่ ดร.อดุลย์บอกว่า หลังจากนี้ แล้วอาจจะเป็นเรื่องยากเนื่องจากรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยไปเซ็นรับรอง แผนที่ของกัมพูชา ถือเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาลไปแล้วซึ่งคณะกรรมการมรดกโลก อาจจะไม่รับพิจารณา
การลงนามรับรองแผนที่ของกัมพูชาของ นายนพดล ถือเป็นครั้งแรกในการตกลงยกดินแดนให้กัมพูชาอย่างเป็นทางการ หรือเรียกว่าเป็นการเสียดินแดนครั้งแรก เนื่องจากที่ผ่านมาหลังจากที่ ศาลโลกในปี 2505 ตัดสินให้ตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา แต่ดินแดนเป็นของไทยนั้น ได้มี มติครม.สมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ออกมาเพียงเรื่องของเขตแดนในประเทศไทยเท่านั้น ไม่ได้มีข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและกัมพูชาครั้งนี้จึงเป็นครั้งแรกของ แารยอมรับกรณีที่พิพาทที่ดินระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะที่ผ่านมาไทยไม่เคยยอมรับในเรื่องนี้เลยเพราะ ศาลโลกตัดสินแล้วว่า ดินแดนเป็นของไทย การที่ตัวอาคารของเขมรมาตั้งในดินแดนไทยก็ไม่มีปัญหา และเรายังมีอำนาจบริหารแผ่นดินของเรา แต่การรัฐมนตรีต่างประเทศไปเซ็นต์รับรองแผนที่กัมพูชาเท่ากับยอมรับยก พื้นที่ให้กัมพูชาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ศาลปกครองมีคำสั่ง ให้ระงับเรื่องการร่วมเสนอให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ทางกัมพูชาเห็นว่า นั่นเป็นเรื่องภายในประเทศของไทยไม่เกี่ยวกับเขา เรามารอดูกันว่ารัฐบาลนายสมัครจะทำอย่างไรกับเรื่องนี้ เพราะถ้าขืนชักช้าคงไม่ทันการแน่นอน เราลองมาดูความผิดปกติของเรื่องนี้สักนิด เพราะทางยูเนสโกบอกว่าทางรัฐบาลไทยได้ตกลงเซ็นต์ร่วมไปแล้วตั้งแต่ 22 พ.ค. แต่ทางรัฐบาลเพิ่งเอามาเข้า ครม.และห็นชอบร่างคำแถลงการณ์ฯร่วม เมื่อ 17 มิ.ย. และลงนามเมื่อ 18 มิ.ย. แต่ให้หลังเพียงวันเดียว ยูเนสโก้ออกมาบอกว่าสันสนเรื่องวันที่มาแก้เป็นวันที่ 18 มิ.ย. อีกแล้วมันมีอะไรกันแน่...
ข้อมูลจาก http://www.charnvitkasetsiri.com
ดูสรุปย่อคำพิพากษาของศาลโลกเป็นภาษาอังกฤษได้จาก
http://www.icj-cij.org/docket/files/45/12821.pdf
ข้อมูลและภาพ จาก Internet
Create Date : 02 กรกฎาคม 2551 | ||
Last Update : 6 กรกฎาคม 2551 21:32:35 น. |
4 comments
|
Counter : 26 Pageviews. |
|
|
|
|
BlogGang Popular Award#4 |
|
โสนบ้านนา |
|
Location : |
||||
My FriendFlock ฝากข้อความหลังไมค์ Rss Feed [?] |
|||||
|
ความคิดเห็น